วรรณกรรมในรัชกาลที่6ทรงพระราชนิพนธ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หลายด้าน อาทิประเภทวรรณคดี - พระนลคำหลวง นารายณ์สิบปาง ศกุนตลา มัทนะพาธา ฯลฯ
ประเภทบทละคร - หัวใจนักรบ พระร่วง โรมิโอและจูเลียต ตามใจท่าน เวนิชวาณิช ฯลฯ
ประเภทธรรมะ - เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร พระบรมราโชวาทในงานวิสาขบูชา ฯลฯ
ประเภทประวัติศาสตร์โบราณคดี – เที่ยวเมืองพระร่วง สันนิษฐานเรื่องพระร่วง เที่ยวเมืองอียิปต์
สันนิษฐานเรื่องท้าวแสนปม ฯลฯ
ประเภททหาร - การสงครามป้อมค่ายประชิด พันแหลม ความเจริญแห่งปืน ฯลฯ
ประเภทปลุกชาติ - เมืองไทยจงตื่นเถิด ยิวแห่งบูรพาทิศ ปลุกใจเสือป่า โคลนติดล้อ ลัทธิเอาอย่าง
ประเภทนิทาน - นิทานทองอิน นิทานทหารเรือ นิทานชวนขัน ฯลฯประเภทกฎหมาย - กฎหมายทะเล หัวข้อกฎหมายนานาประเทศแผนกคดีเมือง
ประเภทการเมือง - ความกระจัดกระจายแห่งเมืองจีน การจราจลในรัสเซีย ปกิณกคดีของอัศวพาหุ
ประเภทสุขวิทยา - กันป่วย
พระองค์ทรงอุตสาหะพระราชนิพนธ์หนังสือต่าง ๆ แล้ว ยังโปรดให้ตั้ง วรรณคดีสโมสร เพื่อส่งเสริมการประพันธ์ด้านภาษาไทย นอกจากนี้ยังได้ทรงออกหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ หลายฉบับด้วยกัน เช่น ทวีปัญญา เมื่อครั้งตั้ง ทวีปัญญาสโมสร ในสมัยก่อนขึ้นครองราชย์ และสมัยที่เสวยราชสมบัติแล้วหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงคือ ดุสิตสมิต ในการพระราชนิพนธ์หนังสือต่าง ๆ พระองค์ทรงใช้ทั้งพระนามจริงและพระนามแฝงในโอกาสต่างๆ ดังนี้
เรื่องเกี่ยวกับการเมืองและบทปลุกใจ ใช้พระนามแฝงว่า อัศวพาหุ
สำหรับบทละคร ใช้พระนามแฝงว่า ศรีอยุธยา นายแก้วนายขวัญ พระขรรค์เพชรสำหรับบันเทิงคดีและสารคดีต่าง ๆ ที่ทรงแปลจากภาษาต่างประเทศ ใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ
สำหรับเรื่องที่เกี่ยวกับทหารเรือ ใช้พระนามแฝงว่า พันแหลม
สำหรับนิทานต่าง ๆ ใช้พระนามแฝงว่า น้อยลา สุครีพ
ด้วยเหตุนี้เอง มหาชนทั่วไปจึงพร้อมกันถวายพระสมัญญาให้แก่พระองค์ท่านว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส) ทรงใช้นามปากกาว่า น.ม.ส.
บทพระนิพนธ์ที่สำคัญได้แก่ กนกนคร นิทานเวตาล พระนลคำฉันท์ จดหมายจางวางหร่ำ ลิลิตสามกรุง นางพญาฮองไทเฮา
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ใช้นามปากกาว่า ครูเทพ
ผลงานที่สำคัญไดแก่ ชุดโคลงกลอนของครูเทพ แบบเรียนต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับครูและนักเรียน เช่น ตรรกวิทยา ตำราเรขาคณิต พีชคณิต ชุดแบบสอนอ่านธรรมจริยา ชนิดที่เป็นบทละครพูด ได้แก่ เรื่องบ๋อยใหม่ แม่ศรีครัว หมั้นไว้ และตาเงาะ และได้ประพันธ์บทเพลงอมตะไว้เพลงหนึ่งคือ กราวกีฬา
เสถียรโกเศศและนาคะประทีปซึ่งเป็นนามปากกาของ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสถียรโกเศศ)และ
พระสาระประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ผลงานที่สำคัญคือเรื่อง กามนิต นิยายเบงคลี นิยายทศมนตรี หิโตประเทศ บันเทิงทศวารและลัทธิของเพื่อน
พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์) ผู้แต่ง อิลราชคำฉันท์
พระยาอุปกิตศิลปสาร(นิ่ม กาญจนาชีวะ) ผู้ใช้นามปากกาว่า อ.น.ก. ผลงานที่สำคัญคือ แบบเรียนชุดตำราไวยากรณ์ไทย 4 เล่ม คือ อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์และฉันทลักษณ์